กรุ๊ปเหมารัสเซีย : เที่ยวอันซีนที่ คาซาน (Kazan)

กรุ๊ปเหมารัสเซีย

กรุ๊ปเหมารัสเซีย : เที่ยวอันซีนที่ คาซาน (Kazan)

เที่ยวรัสเซีย เส้นทาง 7 เมืองรุ่งเรืองของ อดีตสหภาพโซเวียตรัสเซีย บนทางรถไฟสายทรานส์-ไซบีเรียน

คาซาน เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของสาธารณรัสตาต้าร์สถาน ในสหพันธรัฐรัสเซีย เป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับห้าของรัสเซีย และ เป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดบริเวรแม่น้ำโวลก้าและภายในเขตสหพันธรัฐโวลก้า ตั้งอยู่บริเวณจุดบรรจบกันของแม่น้ำโวลก้าและแม่น้ำคาซานก้า พื้นที่ตัวเมืองคาซานครอบคลุม 425 ตร.กม มีประชากรราว 2 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในเขตมหานคร

คาซานมีชื่อเสียงในด้านการผสมผสานทางวัฒนธรรมระหว่างตาตาร์ (มองโกล) และ รัสเซีย ที่เต็มไปด้วยชีวิตชีวา โดยมีนักท่องเที่ยวมาเยือนไม่ขาดสาย ไม่ว่าจะเป็น คาซาน เครมลินที่ได้ขึ้นทะเบียนมรดกโลก  และได้รับสิทธิให้เรียกตนเองว่าเป็น “เมืองหลวงแห่งที่สามของรัสเซีย (Third Capital of Russia) ในปี ค.ศ. 2009 และคาซานได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อนใน ปี ค.ศ. 2013 และเป็นหนึ่งในเมืองเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก ปี ค.ศ. 2018 ด้วยเช่นกัน

คาซานในยุคโวลก้า บุลแกเรีย (Volga Bulgaria)

ในอดีต คาซาน เป็นดินแดนตั้งรกรากของชาวชาติพันธุ์หลากหลาย เช่น ชาวบุลการ์ (Bulgar บรรพบุรุษของชาวบุลกาเรีย), ชาวโวลก้า ฟินส์ (Volga Finns ชาติพันธุ์รัสเซียดั้งเดิมที่อาศัยอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำโวลก้า) และชาวชาติพันธุ์สลาฟตะวันออกอีกหลายกลุ่ม

บริเวณลุ่มแม่น้ำโวลกาแห่งนี้ เป็นตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ทางการค้า ทำให้สามารถผูกขาดการค้าท้องถิ่นกับ ชาวนอร์ส (Norse ชาวเยอรมนิกเหนือในยุคกลาง บรรพบุรุษของชาวสแกนดิเนเวียนปัจจุบัน) ชาวคูมันส์ (Cumans ชาวเตอร์กเร่ร่อนที่มีถิ่นตั้งแต่แม่น้ำดานูบในโรมาเนียปัจจุบัน ไปจนถึงเอเชียกลาง และตะวันออกสุดบริเวณทะเลสาบบัลฆาช (Lake Balkhash)) และชาวแพนโนเนียน อาฟาร์ (Pannonian Avar เป็นชาวชาติพันธุ์เร่ร่อนที่ตั้ง อาณาจักรข่านแห่งอะฟาร์ อยู่บริเวณตอนกลางของแอ่งตะกอนแพนโนเนียนหรือที่ลุ่มคาร์เพเธียน บริเวณประเทศฮังการีในปัจจุบัน)

ในช่วงศตวรรษที่ 6 ถึงปลายศตวรรษที่ 9 โวลก้า บุลแกเรีย ตกอยู่ภายใต้การปกครองของข่านแห่งฆาซาร์ (Khazar Khaganate) ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์เติร์ก มีศูนย์กลางปกครองอยู่เมืองซามันดาร์ (เมืองเซเมนเดอร์ Semender ในสาธารณรัฐดาเกสถาน ประเทศรัสเซียปัจจุบัน) อย่างไรก็ตามชาวบุลการ์บางส่วนได้อพยพไปทางตะวันตก และตั้งรกรากในบริเวณแม่น้ำดานูบและได้กลายเป็นชาวบัลแกเรียในปัจจุบัน ต่อมาในปลายศตวรรษที่ 10 กองทัพของ สวียาโตสลาฟ ที่ 1 อิกอเรวิช (Svyatoslav I Igorevich) เจ้าชายแห่งเคียฟ ได้บุกพิชิตดินแดนฆาซาเรียของข่านแห่งฆาซาร์ ทำให้ชาวบุลการ์ไม่ยอมจ่ายส่วยอีกต่อไป

ศาสนาอิสลามได้เผยแผ่เข้ามาในดินแดนโวลก้า บุลแกเรีย ในช่วงปี ค.ศ. 922 ก่อนการเข้ามาของศาสนาคริสต์ของชาว รุสเคียฟ (Kievan Rus) โดย อัลมิส (Almış) ซึ่งเป็นผู้ปกครองมุสลิมของโวลก้า บุลแกเรีย ในช่วงเวลาดังกล่าว ได้ส่งทูตไปของคำแนะนำทางศาสนากับเคาะลิฟะฮ์ (Kalifah หรือ กาหลิบ ซึ่งเป็นผู้นำทางศาสนานิกายซุนหนี่) ซึ่งคณะทูตก็ได้กลับพร้อมกับอิบนู ฟัดลัน (Ibn Fadlan) ซึ่งเป็นเลขานุการของท่านกาหลิบ เพื่อมาให้ความกระจ่างในข้อบัญญัติทางศาสนาแก่ชาวมุสลิมจำนวนมากที่อาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้

แม้ชาวโวลก้า บุลการ์ จะพยายามเปลี่ยนกษัตริย์ วลาดีมีร์ที่ 1 สวียาโตสลาฟ ซึ่งเป็นผู้ปกครองชาวรุสเคียฟ แต่ไม่สำเร็จ ซึ่งพระองค์ปฏิเสธความคิดที่ว่า “มาตุภูมิเลิกดื่มไวน์” โดยประกาศว่า “การดื่มไวน์เป็นความในชีวิตของพวกเขา” โดยรัฐเจ้าชายแห่งเคียฟนี้ได้ควบคุมแม่น้ำโวลก้าและเส้นทางการค้าส่วนใหญ่ระหว่างยุโรปและเอเชียก่อนเกิดสงครามครูเสด โดย โบลการ์ (Bolghar) เป็นเมืองหลวงและเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรือง มีขนาดและความมั่งคั่งเท่าเทียมกับ กรุงแบกแดด ศูนย์กลางที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกอิสลามในยุคสมัยนั้น และมีคู่ค้าสำคัญได้แก่ ชาวไวกิ้ง (Viking) จากสแกนดิเนเวีย, ชาวบยาร์มเลินด์ (Bjarmaland จากบริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของรัสเซีย ใต้คาบสมุทรโคล่า), ชาวยูกร้า (Yugra จากบริเวณตะวันออกของเทือกเขาอูราลเหนือ, ชาวเนเนต (Nenets ที่มีถิ่นฐานระหว่างคาบสมุทรโคล่าจนถึงคาบสมุทรตายมุยร์ ตอนเหนือสุดในเขตทุนดราของรัสเซีย) และ พ่อค้าจากแบกแดด รวมถึงกรุงสแตนติโนเปิลของจักรวรรดิโรมันไบแซนไทน์ทางตอนใต้

ดินแดนโวลก้าในยุคโกลเด้นโฮร์ด (Volga land in Golden Horde period)

ชาวโวลก้า บุลแกเรีย ต้องเผชิญกับกองทัพมองโกลโฮร์ดครั้งแรกช่วงฤดูใบไม้ร่วงในปี ค.ศ. 1223 ผลของสงครามกองทัพมองโกลที่นำทัพโดยอูราน บุตรชายของซูบูไต บาฮาดูร์ พ่ายแพ้ที่สมรภูมิซามาร่า เบนด์ (the Battle of Samara Bend) บริเวณชายแดนทางตอนใต้ของแม่น้ำโวลก้า

ในปี ค.ศ. 1236 กองทัพมองโกลกลับมาอีกครั้ง และใช้เวลาประมาณห้าปี ในการพิชิตอาณาจักรโวลก้า บุลแกเรียได้สำเร็จ แต่ระหว่างที่ปกครองก็ต้องประสบกับสงครามภายในตลอด จนกระทั่งได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของ อูลุส โซชิ (Ulus Djochi) บุตรชายคนโตของเจงกิสข่าน (เตมูจิน) ซึ่งเป็นที่รู้จักชื่อกลุ่ม “โกลเด้น โฮร์ด (Golden Horde) โดยคำว่า โฮร์ด มาจากคำว่า Orda ที่มีความหมายว่า พระราชวัง ค่าย หรือสำนักงานใหญ่ ในภาษาเตอร์กิค ดังนั้น โกลเด้น โฮร์ด จึงมีความหมายว่า “พระราชวังทองคำ”

ระหว่างการปกครองของโกลเด้น โฮร์ด หรือ อาณาจักรคิปชัก (Kipchak Khanate) การปกครองแบ่งออกเป็นหลายส่วน แต่ละคนกลายเป็นข้าราชบริพารของโกลเด้น โฮร์ด และกาลเวลาให้หลังมาอีกประมาณ 200 ปี โกลเด้น โฮร์ด ได้กลายมาเป็นอาณาจักรข่านแห่งคาซาน ที่ปกครองระหว่างปี ค.ศ. 1438-1552 โดยเป็นชาวชาติพันธุ์มองโกลเผ่าตาต้าร์ เป็นอาณาจักรที่มีความสำคัญกับภูมิภาคโวลก้า จนกระทั่งอาณาจักรล่มสลายด้วยน้ำมือของกองทัพซาร์ อิวาน ที่ 4 วาซิลีวิช (Ivan IV Vasilyevich หรือ ซาร์ อิวานผู้โหดร้าย (Ivan the Terrible)) ในเดือนสิงหาคม ปี ค.ศ. 1552 จากนั้นดินแดนโวลก้า บุลแกเรียก็ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิรัสเซีย สหภาพโซเวียตรัสเซีย และสาธารณรัฐตาตาร์สถานภายใต้สหพันธรัฐรัสเซียจนถึงปัจจุบัน

ศูนย์กลางการผลิตรถถังและเครื่องบินรบในยุคสหภาพโซเวียต (Center for tank and fighter aircraft production during the Soviet era)

ในปี ค.ศ. 1917 คาซานได้กลายเป็นหนึ่งในศูนย์การปฏิวัติ และต่อมาในปี ค.ศ. 1918 คาซานได้ถูกยกฐานะเป็นเมืองหลวงของแคว้นอิเดล (โวลก้า)-อูราล (Idel-Ural State) ซึ่งเป็นการประกาศแยกตัวเป็นอิสระของชาวชาติพันธุ์ตาตาร์ แต่ก่อตั้งได้เพียง 28 วัน ก็ถูกปราบปรามโดยกองทัพคอมมิวนิสต์ของสหภาพโซเวียต

ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ทางตะวันตกของสหภาพโซเวียต ได้ย้ายมายังเมืองคาซาน ทำให้เมืองคาซานได้กลายเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมการทหารทั้ง โดยเป็นแหล่งผลิตรถถังและเครื่องบิน หลังสงครามคาซานได้รวมตัวเป็นศูนย์กลางอุตสหากรรมและวิทยาศาสตร์ โดยในปี ค.ศ. 11979 มีประชาการในเมืองถึงหนึ่งล้านคน

สถานที่ท่องเที่ยวภายในเมืองคาซาน

ศูนย์ประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมของคาซานเครมลิน (Historic and Architectural Complex of the Kazan Kremlin)

กรุ๊ปเหมารัสเซีย

ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น มรดกโลกขององค์การยูเนสโก้ ในปี ค.ศ. 2000 ตามเกณฑ์ข้อที่ 2 (ii), 3 (iii) และ 4 (iv)

คาซาน เครมลิน (Kazan Kremlin)  เป็นศูนย์การปกครองของรัสเซียที่สร้างขึ้นบนพื้นที่ชุมชนโบราณ ย้อนไปถึงยุคโวลก้า บุลแกเรีย ซึ่งเป็นยุคตั้งรกรากของชาวชาติพันธุ์ของรัสเซีย ที่เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม และศาสนาคริสต์แบบรัสเซียนออร์โธดอกซ์ ในเวลา

ต่อมา จนมาถึงยุคโกลเด้น โฮร์ด และอาณาจักรข่านแห่งคาซาน

ในศตวรรษที่ 10-13 ก่อนคาซานจะถูกกองทัพมองโกลเข้ารกราก เคยเป็นนิคมกลางทางการค้าของชาวบุลการ์มาก่อน ซึ่งมีป้อมปราการล้อมรอบ คูน้ำ เชินเทิน และรั่วกัน โดยในศตวรรษที่ 12 มีการสร้างป้อมปราการสีขาว และเมืองคาซานในยุคนั้นได้กลายเป็นด่านหน้าชายแดนด้านเหนือของแม่น้ำโวลก้า บุลแกเรีย

ต่อมาในศตวรรษที่ 13-16 เมืองนี้ได้รับการพัฒนาภายใต้การปกครองของชาวมองโกลโกลเด้น โฮร์ด และอาณาจักรข่านแห่งคาซาน ซึ่งเป็นทั้งศูนย์กลางการเมืองการปกครอง การทหาร การค้า และวัฒนธรรม ที่ต่อมาถูกองทัพพระเจ้าซาร์ อิวานผู้โหดร้าย (Ivan the Terrible) พิชิตได้ในปี ค.ศ. 1552 และได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองสังฆมลฑลแห่งโวลก้าและตะวันออก (the Christian See of the Volga Land and the East) แต่การวางผังป้อมปราการ (Kremlin เครมลิน) ในหลายๆ ด้านยังคงแบบป้อมตาตาร์โบราณตามเดิม ต่อมาคาซานได้กลายเป็นศูนย์กลางการแสวงบุญที่สำคัญ ประกอบด้วยกลุ่มอาคารประวัติศาสตร์ที่โดดเด่นตั้งแต่ศตวรรษที่ 16-19  โดยผสมผสานกับซากของโครงสร้างในสมัยศตวรรษที่ 10-16 ก่อนหน้านี้

ปัจจุบันคาซาน เครมลิน ประกอบไปด้วยอาคารทางประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม และโบราณคดีหลายแห่ง ซึ่งรวมถึง ป้อมปราการ วังองผู้ว่าราชการ และหอคอยซยูยุมเบกี อาสนวิหารแม่พระรับสาร สำนักงานสาธารณะ อารามพระผู้ช่วยให้รอดจำแลงกาย โรงเรียนนายร้อย และโรงหล่อปืนใหญ่ ซึ่งมีชั้นความลึกในการขุดค้นทางโบราณคดีตั้งแต่ 3 เมตร จนถึง 8 เมตร

อดีตป้อมปราการแห่งนี้เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความต่อเนื่องทางประวัติศาสตร์และความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่โดดเด่น นอกเหนือจากสุนทรียศาสตร์อันน่าทึ่งทางสถาปัตยกรรมแล้ว สถานที่แห่งนี้ยังคงรักษาร่องรอยของฐานรากของสิ่งก่อสร้างต่างๆและการวางผังเมืองดั้งเดิมในรัสเซียช่วงศตวรรษที่ 10 รวมถึงยุคข่านแห่งคาซาน (ปกครองระหว่างศตวรรษที่ 15-16) โดยคาซาน เครมลินเป็นป้อมปราการแห่งสุดท้ายของพวกมองโกลตาต้าร์ที่ยังหลงเหลืออยู่

คาซาน เครมลิน เป็นป้อมปราการทางประวัติศาสตร์ที่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมต่างๆ เช่น บุลแกเรีย, โกลเด้น โฮร์ด, คาซาน ตาตาร์ในยุคกลาง, อิตาลี, รัสเซีย และชาวตาตาร์สมัยใหม่ เป็นดินแดนทางตะวันตกเฉียงเหนือที่การเผยแพร่ศาสนาอิสลามในยุคกลางไปถึง การมีอยู่ของสถาปัตยกรรมแบบ ปิสคอฟ-โนฟโกหรัด (Pskov-Novgorod style) จากต้นแหล่งบริเวณทะเลสาบพิคอฟ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก ที่แพร่ขยายมาถึงคาซาน รวมถึงรูปแบบสถาปัตยกรรมตาตาร์และรัสเซียที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ สะท้อนให้เห็นในอนุสรณ์สถานสำคัญต่างๆ เช่น หอคอยซยุยุมเบกิ (Syuyumbeki Tower) หรือ สุเหร่าข่าน, อาสนวิหารแม่พระรับสาร (the Annunciation Cathedral), และหอคอยพระผู้ช่วยให้รอด (the Saviour Tower) สุเหร่าคุล ชาริฟ (Kul Sharif  Mosque) เป็นต้น

หอดูดาวประจำมหาวิทยาลัยรัฐบาลกลางคาซาน (The Astronomical Observatories of Kazan Federal University)

กรุ๊ปเหมารัสเซีย

ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น มรดกโลกขององค์การยูเนสโก้ ในปี ค.ศ. 2023 ตามเกณฑ์ข้อที่ 2 (ii) และ 4 (iv)

ตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยรัฐบาลกลาง วิทยาเขตคาซาน กลางตัวเมืองคาซาน เป็นหอดูดาวทางดาราศาสตร์ประจำเมืองคาซาน สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1837 ตัวอาคารโดดเด่นด้วยทรงครึ่งวงกลม มีหอคอย 3 หลังพร้อมด้วยโยที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เก็บเครื่องมือทางดาราศาสตร์

หอดูดาวเองเกิลฮาร์ดต์แห่งมหาวิทยาลัยรัฐบาลกลางคาซาน (Engelhardt Astronomical Observatories of Kazan Federal University)

ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น มรดกโลกขององค์การยูเนสโก้ ในชุดเดียวกัน

ตั้งอยู่จากตัวเมืองออกไปทางทิศตะวันตกประมาณ 24 กม. ใช้เป็นที่สังเกตการณ์ท้องฟ้าและอาคารที่พักอาศัย หอดูดาวได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่างสมบูรณ์ด้วยเครื่องมือทางดาราศาสตร์ ปัจจุบันทำหน้าที่ด้านการศึกษาเป็นหลัก

อารามคาซาน โบโกโรดิทสกี้ (Kazan Bogoroditsky Monastery

กรุ๊ปเหมารัสเซีย

หรือ “อารามพระชนนีของพระเป็นเจ้าแห่งคาซานในเมืองคาซาน (Kazan Theotokos Monastery in Kazan)” เรียกโดยทั่วไปว่า “แม่พระแห่งคาซาน” เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญทางศาสนาในเมืองคาซาน เป็นโบสถ์สำคัญมากสำหรับคริสต์ศาสนิกชนนิกายรัสเซียออร์โธดอกซ์ ซึ่งมีประวัติศาสตร์เชี่อมโยงอย่างแยกไม่ออกกับการได้มาซึ่ง หนึ่งใน “รูปเคารพพระชนนีพระเจ้า หรือ เธโอโตกอส (Theotokos) หรือ มาแตร์เดอี (Máter Déi) ในภาษาละติน” ที่น่าอัศจรรย์และ

ได้รับความเคารพนับถือมากที่สุดในรัสเซีย โดยทรงเป็นผู้อุปถัมภ์จักรวรรดิรัสเซียในยุคราชวงศ์โรมานอฟ โบสถ์คาซานโบโกโรดิทสกี้แห่งนี้ ได้เก็บรักษารูปแม่พระแห่งคาซานไว้จนกระทั่งถึงปีค.ศ. 1904 รูปเคารพที่ประดับภายในโบสถ์ได้สูญหายไป และกลับมาประดับที่อารามแห่งนี้อีกครั้งในปี ค.ศ. 2016

เล่ากันว่า ในปี ค.ศ. 1579 ได้เกิดเพลิงไหม้ใหญ่ทำลายเมืองคาซาน หลังเหตุการณ์มีเด็กหญิงอายุ 12 ขวบที่ชื่อ มัตรโยน่า (Matryona) ได้พบกับรูปแม่พระอยู่ใต้กองเถ้าถ่านบริเวณบ้านที่ถูกไฟไหม้ หลังจากที่เธอฝันว่า ได้พบกับแม่พระชนนีพระเจ้า (Theotokos) และพระนางทรงบอกว่าจะรูปเคารพของพระองค์ได้ที่ใด เหตุการณ์ดังกล่าวเหล่าผู้ศรัทธามองว่าการค้นพบรูปแม่พระเป็นเรื่องอัศจรรย์ และในปีเดียวกันนั้นเอง พระเจ้าซาร์อิวานผู้โหดร้าย (Ivan the Terrible) ได้สั่งให้สร้างอารามโบโกโรดิทสกี้สาวน้อยมาโตรน่า (the Bogoroditsky Maiden Monastery) ขึ้น และสาวน้อยมาโตรน่าได้กลายเป็นแม่ชีคนแรก และต่อมาได้กลายเป็นแม่อธิการของอารามโบโกโรดิทสกี้แห่งนี้

ต่อมาในปี ค.ศ. 1767 สมเด็จพระราชินีแคทเธอลีนที่ 2 ท  รงประดับเพชรเป็นรูปมงกุฎให้แม่พระเพื่อเป็นการเสริมสิริมงคล แต่แล้วในปี ค.ศ. 1904 รูปพระชนนีของพระเป็นเจ้า (Theotokos) ได้ถูกขโมยไปจากอารามคาซานโบโกโรดิทสกี้ แม้จะจับตัวหัวขโมยได้อย่างรวดเร็วก็ตาม แต่ก็ไม่สามารถนำรูปแม่พระกลับมาได้ ซึ่งบางก็อ้างว่ารูปแม่พระถูกเผาไปแล้ว บ้างก็ว่าถูกขายให้กับพวกโอลด์ บีลีฟเวอร์

ในยุคสหภาพโซเวียตกำลังรุ่งเรือง อารามส่วนใหญ่ถูกทำลาย พื้นที่อาณาเขตของอารามมีสร้างโรงงานยาสูบและที่อยู่อาศัยของคนงาน ต่อมาในปี ค.ศ. 2005 ในยุคสหพันธรัฐรัสเซีย โบสถ์คาซานโบโกโรดิทสกี้แห่งนี้ได้รับการบูรณะซ่อมแซมใหม่ และสมเด็จพระสังฆราชอเล็กซีที่ 2 แห่งมอสโคว์และรัสเซียทั้งหมด (นิกายรัสเซียนออร์โธดอกซ์) ได้รับพระราชทาน “รูปพระชนนีพระเจ้าแห่งคาซาน (Kazan Icon of the Mother of God)” จากสมเด็จพระสันตะปาปา จอห์น ปอล ที่ 1 เพื่อนำมาประดิษฐานที่โบสถ์คาซานโบโกโรดิทสกี้แห่งนี้ และมีการจัดพิธีมิสซาทุกวัน ซึ่งผู้มีศรัทธาต่างหลั่งไหลมาจากทุกมุมโลก เพื่อนมัสการรูปเคารพของแม่พระศักดิ์สิทธิ์

ปัจจุบันทุกชาติศาสนาสามารถเข้าเยี่ยมชมโบสถ์คาซานโบโกโรดิทสกี้แห่งนี้ได้ทุกคน แม้โบสถ์คาซานโบโกโรดิทสกี้จะไม่ได้สวยงามพิเศษหรือมีคุณค่าทางสถาปัตยกรรมมากนัก แต่ผู้ที่ไม่เชื่อหรือไม่มีความศรัทธา ก็สามารถสัมผัสบรรยากาศอันแข็งแกร่งนี้ได้

อาสนวิหารเอพิฟานี่และหอระฆัง (Epiphany Cathedral and Bell Tower)

กรุ๊ปเหมารัสเซีย

เดิมอาสนาวิหารเอพิฟานี่ ถูกเรียกว่า โบสถ์ที่ประตูปาโรมนี่ (the Church at Promnyh Gate)  เนื่องจากอาคารไม้หลังแรกถูกสร้างขึ้นในบริเวณกำแพงที่พังระหว่างการยึดคาซานโดยกองทัพพระเจ้าซาร์ อิวานผู้โหดร้าย  และโบสถ์หินแห่งนี้ได้สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1741 ด้วยการอุปถัมภ์ของพ่อค้าที่ชื่อ เซอร์ไก เชอร์นอฟ ต่อมาในปี ค.ศ. 1873 นายเฟโอดอร์ อิวาโนวิช ชาบิอาปิน (Feodor Ivanovich Chaliapin) ซึ่งเป็นศิลปินนักร้องโอเปร่าที่โด่งดัง ได้เข้า พิธีรับศีลล้างบาป (Baptized)

บัพติศมา) ต่อมาได้มีการสร้างหอระฆังแห่งใหม่ (ปัจจุบัน) ขึ้น ในปี ค.ศ. 1895-1897 ด้วยเงินช่วยเหลือจากกองทุนของ อิวาน คริโวโนซอฟ (Ivan Krivonosov) ซึ่งเป็นพ่อค้านักธุรกิจมอบให้

หอระฆังสูง 74 เมตร ในศตวรรษที่ 19 ถือเป็นอนุสรณ์สถานสถาปัตยกรรมบาโรกของรัสเซีย และเป็นสัญลักษณ์ประจำถนนบาวแมน สร้างโดย แมกซิม มิคาอิลอฟ (Maxim Mikhailov) ด้านนอกของหอระฆังมีลักษณะคล้ายกับส่วนหน้าของอาสนวิหารสไตล์โกธิคทั่วไป และให้ความรู้สึกที่น่าประทับใจกับชั้นสองของหอระฆัง มีโบสถ์ร้องเพลงประสานเสียงตั้งตามชื่อของ เฟโอดอร์ ชาบิอาปิน ซึ่งไม่ห่างจะหอระฆังนี้จะมีอนุสาวรีย์ของเขาตั้งอยู่เพื่อเป็นการให้เกียรตินักร้องชื่อดังคนนี้อีกด้วย

Scroll to Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า