ทัวร์อียิปต์ : ยักษ์ใหญ่แห่งเมมน่อน Colossi of Memnon

ทัวร์อียิปต์

ทัวร์อียิปต์ : ยักษ์ใหญ่แห่งเมมน่อน Colossi of Memnon

ทัวร์อียิปต์ : ยักษ์ใหญ่แห่งเมมน่อน Colossi of Memnon

หรือ เอล-โคลอสซัต el-Colossat หรือ เอล-ซาลามัต el-Salamat เป็นอนุสาวรีย์หินสลักลอยตัวคู่ขนาดใหญ่ รูปสลักด้านซ้ายสร้างจากหินก้อนเดียวและด้านขวาเป็นรูปสลักจากหินหลายก้อนเรียงต่อกัน สูง 18 ม. หนัก 720 ตันต่อชิ้น ในท่าประทับบนบัลลังก์ประดับด้วยภาพสลักของพระมารดา พระมเหสี เทพฮาปิ (องค์เทพแห่งน้ำท่วมประจำปีของแม่น้ำไนล์) รวมถึงภาพสลักเชิงสัญลักษณ์อื่นๆ
รูปสลักหินคู่นี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนและผู้พิทักษ์ห้องเก็บพระศพของฟาโรห์อาเมนโฮเทปที่ 3 แห่งราชวงศ์ที่ 18 (ครองราชย์ระหว่าง 1386-1353 ก่อนคริสตกาล) ตั้งอยู่ทางตะวันตกของเมืองลักซอร์ อย่างไรก็ตามจากเหตุแผ่นดินไหว น้ำท่วม และการรื้อวัสดุโบราณมาสร้างสิ่งก่อสร้างใหม่ตามวิถีปฏิบัติโบราณ ทำให้อาคารมหึมาเก่าแก่เหล่านี้หายไป เหลือเพียงรูปสลักหินขนาดมหึมาสององค์นี้ให้ได้เห็นในปัจจุบัน ซึ่งครั้งหนึ่งเคยตั้งอยู่ที่ประตู หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มองออกไปยังแม่น้ำไนล์
เมมน่อน เป็นนามที่ถูกตั้งตามวีรบุรุษในตำนานเทพเจ้ากรีก โดยเมมนอนเป็นกษัตริย์เอธิโอเปีย และเป็นโอรสของติโธนุสซึ่งเป็นเจ้าชายแห่งทรอย โดยแมมน่อนถูกอคิลลีสซึ่งเป็นสุดยอดวีรบุรุษนักรบกรีก สังหารในสงครามกรุงทรอย แต่จากการต่อสู้ของเมมน่อนและอคิลลีส ทำให้เขากลายเป็นหนึ่งในวีรบุรุษกรีกเช่นกัน ดังนั้นนักท่องเที่ยวกรีกมักจะเชื่อมโยงตำนานของเมมน่อนแทนฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 3 โดย มาเนโธ นักประวัติศาสตร์ชาวอียิปต์ในศตวรรษที่ 3 อ้างว่า เมมน่อนและอเมนโฮเทปที่ 3 คือ บุคคลคนเดียวกัน ทำให้โบราณสถานแห่งนี้ถูกเรียกว่า ยักษ์ใหญ่แห่งเมมน่อน
สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยสามารถเห็นรอยจารึกกราฟิตี้หลายพันปีก่อนของผู้มาเยือนสถานที่แห่งนี้ และมีนักเขียนชาวกรีกเรียกโบราณสถานทั้งกลุ่มนี้ว่า “เมมโนเนียม Memnonium”

ฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 3 กับความรุ่งโรจน์ของอียิปต์ Amenhotep III & the Glory of Egypt

ฟาโรห์อเมโฮเทปที่ 3 ครองราชย์ในช่วงการปกครองของอาณาจักรใหม่ (ประมาณ 1570-1069 ก่อนคริสตกาล) ซึ่งอียิปต์ได้กลายเป็นอาณาจักรทรงอำนาจและมั่งคั่ง โดยมีฟาโรห์ธุตโมสที่ 4 (ครองราชย์ระหว่าง 1400-1390 ก่อนคริสตกาล) พระราชบิดา ได้ทิ้งพระองค์ไว้กับอาณาจักรที่มั่งคั่งและมั่นคง ซึ่งฟาโรห์องค์ใหม่ที่มีพระชนมายุเพียง 12 ปี ทรงใช้ทรัพยากรอย่างชาญฉลาด ขึ้นครองราชย์และราชาภิเษกสมรสกับ ไทอา Taia ซึ่งเป็นธิดาในตระกูลสูงศักดิ์ ซึ่งต่อมาพระนางได้ตำแหน่ง “พระภรรยาเจ้าผู้ยิ่งใหญ่” ซึ่งเป็นพระเกียรติที่แม้แต่พระมารดาของฟาโรห์อเมโฮเทปที่ 3 เองยังไม่เคยได้รับ ซึ่งสะท้อนให้เห็นอำนาจและบารมีของคู่ผู้ปกครองที่ยิ่งใหญ่
เพื่อให้สอดคล้องกับประเพณีของฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 3 ผู้ทรงอิทธิพล เกือบจะทันที่หลังการครองราชย์ ด้วยวิสัยทัศน์ของพระองค์ต้องการให้อียิปต์เป็นดินแดนที่สวยงามและมั่งคั่งจนใครๆ ต้องตะลึง โครงการขนาดใหญ่ของพระองค์จึงได้ผุดทั่วอียิปต์ ประกอบไปด้วย อาคาร วิหาร รูปสลักหิน และศิลาสลักหินกว่า 250 แห่งที่พระองค์ได้สรรสร้าง เป็นเครื่องยืนยันความสำเร็จของพระองค์ และพระราชวังแห่งความสุขที่ยิ่งใหญ่ของพระองค์ที่ตั้งอยู่ที่เมือง “มัลกาตะ Malkata” บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไนล์ ใกล้เมืองธีบส์ ครอบคลุมพื้นที่กว่า 3 ตร.กม. และมีหมู่อาคารที่พักอาศัยกว้างขวาง โถงว่าราชการ โถงราชบัลลังก์ โถงเข้าเฝ้า และโถงต้อนรับพระราชอาคันตุกะ โถงจัดงานเทศกาล ห้องสมุด สวนหย่อม ห้องเก็บของ ห้องครัว ฮาเร็ม และวิหารแห่งองค์เทพอามุน
ชาวไอยคุปต์ในยุคต่อมา ถือว่าพระองค์ครองราชย์ยิ่งใหญ่และยาวนานมากเป็นพิเศษ ซึ่งดูเหมือนจะเป็นได้ยากมากที่ผู้ปกครองพระองค์เดียวจะสามารถสร้างสิ่งต่าง ๆ สำเร็จได้ภายในเวลาไม่ถึง 100 ปี
ด้วยพระราชอำนาจที่ยิ่งใหญ่และความสามารถที่ทรงประสิทธิภาพมากกว่าผู้ปกครองอียิปต์ส่วนใหญ่ ด้วยความที่พระองค์ทรงเป็นผู้ครองที่เชี่ยวชาญด้านการทูต ด้วยความเป็นมิตรเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ของพระองค์ ทำให้อาณาจักรโดยรอบส่งบรรณาการอันฟุ่มเฟือยมาถวายเต็มพระคลังหลวง พระองค์ทรงรักษาเกียรติสตรีชาวอียิปต์โดยปฏิเสธการของหญิงอียิปต์ไปเป็นชายาของผู้ปกครองต่างชาติ โดยอ้างว่าไม่มีธิดาสาวคนใดของอียิปต์ถูกส่งไปยังต่างแดนภายใต้การปกครองของพระองค์ แม้อาณาจักรต่าง ๆ จะไม่ยินดีต่อนโยบายนี้ แต่ก็แสดงความยึดมั่นในพระประเพณีและค่านิยมทางวัฒนธรรมนี้ด้วยความนับถือ
ตลอดรัชสมัยของฟาโรห์อเมนโซเทปที่ 3 ได้ปรับปรุงนโยบายการปกครองและศาสนาของพระราชบิดา และพระองค์ทรงเป็นราชูปถัมภ์ทั้งศาสนาอียิปต์โบราณ ศิลปะ และโครงการก่อสร้างต่างๆ อย่างฟุ่มเฟือย และหนึ่งในสิ่งก่อสร้างมั่งคั่งที่สุด คือ วิหารที่เก็บพระศพของพระองค์ รวมถึงรูปสลัก โคลอสซี่ ออฟ เมมน่อน ขนาดมหึมานี้ด้วย

ผู้พิทักษ์แห่งประตูทางเข้า The Guardians of the Gate

ประติมากรรมคู่นี้สลักจากหินควอตไซต์ก้อนเดียว จากพื้นที่รอบเมืองเมมฟิสที่อยู่ทางตอนเหนือใกล้กับกรุงไคโรในปัจจุบัน แต่ด้วยน้ำหนักหินชิ้นเดียวที่มากเกินกว่าที่จะขนส่งมาทางเรือในแม่น้ำไนล์ และต้องใช้ระยะทางถึง 645 กม. ในการขนส่งทางบก แม้จะยังไม่ทราบวิธีการขนส่งหินชัดเจน มีการสันนิษฐานว่าน่าจะใช้วิธีการผลักและลากหินบนเลื่อน (ท่อนไม้กลมเรียงขวางตลอดความยาวก้อนหิน) ในลักษณะเดียวกับการเคลื่อนย้ายหินไปยังเมืองกิซ่าเพื่อสร้างปิรามิด
น่าจะชัดเจนว่ารูปสลักหินลอยตัวคู่นี้ เป็นฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 3 ในฐานะเทวกษัตริย์ แม้ว่าทั้งสองจะนั่งบนความสูญสลายของอารยธรรมของพระองค์ ยาวนานหลายศตวรรษแล้วก็ตาม แต่เทวรูปของพระองค์ก็ได้รับความเคารพจากลัทธิความเชื่อของพระองค์ ที่ฐานด้านหน้ารูปสลักเป็นภาพพระมารดาและพระมเหสี และด้านข้างเป็นภาพขององค์เทพฮาปิ ซึ่งภาพสลักทั้งสายเป็นสัญลักษณ์ของการให้ความสำคัญกับพระมารดากับพระชายา และการกำเนิดใหม่
ศิลปะอียิปต์โบราณถูกสร้างขึ้นตามการใช้งานและมีขนาดมหึมา และโคลอสซี่ ออฟ แมมน่อน ก็ไม่มีข้อยกเว้น รูปสลักไม่ได้ทำหน้าเพียงแค่ปกป้องเท่านั้น แต่เป็นที่ ๆ ฟาโรห์ทรงประทับอยู่ด้วยและรับพลังแห่งการหล่อเลี้ยงจากภาพสัญลักษณ์ที่สลักจารึก และภาพของพระมารดามูเตมวิย่ากับพระมเหสีไทอา ไม่ใช่แค่การตกแต่งประดับประดาที่สูงศักดิ์เท่านั้น แต่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางความเชื่อของชาวอียิปต์โบราณ โดยโลงเก็บพระศพที่วางในหลุมฝังพระศพถือเป็นที่สถิตของวิญญาณผู้ตาย เมื่อกลับมาเยือนโลกจึงจำเป็นจัดเตรียมเครื่องเสวยไว้ ในทำนองเดียวกัน โคลอสซี่ ออฟ เมมน่อน ยังเป็นมากกว่ารูปเคารพหินธรรมดา ๆ โดยเฉพาะหนึ่งในสองรูปสลักนี้สามารร้องเพลงได้

รูปสลักร้องเพลง The Singing Status

สตราโบนักประวัติศาสตร์ชาวกรีก (มีชีวิตอยู่ระหว่าง 65 ปีก่อนคริสตกาล – ปี ค.ศ. 23) เป็นบุคคลแรกที่บันทึกเกี่ยวกับเสียงที่ต่อมาอธิบายว่าเป็นเสียงร้องเพลง เสียงพิณ เสียงเครื่องเป่าทองเหลือง เสียงตบหรือเป่าเครื่องดนตรี โดยสตราโบบันทึกในภูมิศาสตร์ของเขาว่า แผ่นดินไหวทำให้ส่วนบนของรูปสลักหินทางเหนือแตกเป็นเสี่ยงๆ หลังจากนั้นก็ส่งเสียงดังทุกวันตอนเช้าหลังการไปเยือนของเขา ซึ่งเขาเสริมว่า ไม่แน่ใจว่าเสียงนั้นมาจากไหน ไว้ว่าจะเป็นตัวรูปสลัก ฐานรูปสลัก หรือ จากคนที่ยืนอยู่ใกล้ๆ เขาจะยอมรับคำอธิบายอื่น ๆ นอกเหนือไปจากเสียงของรูปสลักหินที่ “พูด” ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
นักเขียนโบราณหลายคนเขียนบันทึกเรื่องการร้องเพลงของรูปสลัก และภาพกราฟิตี้ที่ฐานรูปสลักบันทึกว่าผู้มาเยือนได้ยินเสียงหรือไม่ได้ยินเสียง ผู้คนจากทุกชนชั้นในสังคมและทุกภูมิภาคเดินทางมาสถานที่แห่งนี้เพื่อการเสี่ยงทำนายและบนบานศาลกล่าว ซึ่งดำเนินเรื่อยมาจนกระทั่งจักรพรรดิเซ็ปติมุส เซเวรุสแห่งโรมัน (ปกครองระหว่างปี ค.ศ. 193-211) ทรงเสด็จเยือนในปี ค.ศ. 196 หรือ 199 แต่ทรงไม่ได้ยินเสียง แต่ก็ยังทรงหวังในคำพยากรณ์ โดยทรงซ่อมแซมรูปสลักที่ตั้งอยู่ทิศเหนือ จากนั้นเป็นต้นมาเสียงเคยได้ยินก็หยุดลงอย่างสมบูรณ์
เชื่อกันว่าเสียงดังกล่าวเกิดจากน้ำค้างแห้งภายในรอยแตกของรูปสลักหิน และหินโพรัสเกิดปฏิกิริยาตอบสนองต่อความร้อนในยามเช้า หลังจากผ่านอากาศเย็นในตอนกลางคืน จนทำให้สามารถได้ยินเสียง “ลึกลับ” ที่คล้ายกับวัตถุต่างๆ ได้
การซ่อมแซมรูปสลักของจักรพรรดิเซเวรุส ช่วยปิดรอยร้าวของร่างกายท่อนบน และเป็นการช่วยให้รูปสลักไม่พังทลายลงด้วย แต่หลังจากนั้นความนิยมก็ลดน้อยลง เนื่องจากไม่มีคำทำนายที่น่าอัศจรรย์ที่จะตอบคำถามพวกเขาได้ ผู้คนจึงไปวิงวอนและสวดอ้อนวอนที่สถานที่อื่นแทน อย่างไรก็ตามสถานที่แห่งนี้ยังคงเป็นสถานที่เที่ยวชมความใหญ่โตของหินสลักโบราณที่ตั้งตระหง่านอยู่หน้าภูเขาอันไกลโพ้นและซากปรักหักพังของสถานที่เก็บศพที่ตั้งอยู่ด้านหลัง ซึ่งถูกทำลายไปแล้วในสมัยของสตราโบ วิหารและรูปสลักหินภายในสถานที่ฝังศพก็หายไปนานแล้วเช่นกัน แต่ ยักษ์ใหญ่แห่งแมมน่อน ยังคงเป็นเครื่องระลึกถึงความยิ่งใหญ่ของอารยธรรมอียิปต์โบราณ

Scroll to Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า