ทัวร์อุซเบกิสถาน : 4 นครโบราณแห่งเอเชียกลาง บนเส้นทางสายไหมโบราณ บูคาร่า

ทัวร์อุซเบกิสถาน

บูคาร่า หนึ่งในนครเก่าแก่ที่สุดในเอเชียกลาง ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ฝั่งตะวันตกของประเทศอุซเบกิสถาน เป็นชุมทางจุดพักแวะสำคัญของเหล่ากองคาราวานบนเส้นทางสายไหมอันโด่งดัง ที่เดินทางแลกเปลี่ยนส่งต่อสินค้าจากจีนไปยังดินแดนตะวันตกจนถึงทวีปยุโรป จำเป็นต้องผ่านอดีตนครประวัติศาสตร์แห่งนี้ บูคาร่าได้รับการยอมรับและขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก้ ซึ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวหลายพันจากทั่วโลกมาสัมผัสสิ่งก่อสร้างที่ทรงคุณค่าและวิถีชีวิตของชาวบูคาร่าในแต่ละปี
ปัจจุบันบูคาร่าเมืองที่มีชีวิตชีวาและเจริญรุ่งเรือง และมีประชากรราว 275,000 คน ทัวร์อุซเบกิสถาน เชิญชวนนักเดินทางข้ามกาลเวลา สู่เมืองยุคกลางที่ยังคงหยุดเวลาความงดงามของสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม ที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่างดีที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียกลาง ด้วยมัสยิด มาดราสซ่ะห์ และอนุสรณ์สุสานที่ตระการตา เปิดหน้าต่างทางวัฒนธรรมอิสลามในเอเชียกลางที่ประณีตน่าหลงใหลไปสู่อดีตของภูมิภาค

ทัวร์อุซเบกิสถาน : 4 นครโบราณแห่งเอเชียกลาง บนเส้นทางสายไหมโบราณ บูคาร่า

บูคาร่า : นครแห่งป้อมปราการและหออะซานสุดตระการตา

บูคาร่า (Bukhara) หรือ บูฆอรอ ในภาษาอาหรับ ที่เชื่อกันว่าถูกก่อตั้งขึ้นประมาณกลางสหัสวรรษแรกก่อนคริสตกาล ในระหวางการขุดค้นทางโบราณคดีภายในเมือง ได้มีการค้นพบโบราณวัตถุมากมาย เช่น เครื่องปั้นดินเผา เครื่องประดับ และเศษซากของโครงสร้างในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล

บูคาร่าได้รับการกล่าวถึงครั้งแรกระหว่างศตวรรษที่ 4 – 5 บนเหรียญของเมืองแห่งนี้ ทัวร์อุซเบกิสถาน ในศตวรรษที่ 7 สมณะเสวียนจั๊ง หรือ พระถังซำจั๋ง ซึ่งเป็นนักวิชาการและนักแปลพระธรรม ได้เขียนเกี่ยวกับ บูคาร่า ว่ามาจากภาษาอุยกูร์เก่า ซึ่งแปลว่า “บ้านสวดมนต์” หรือ “วัด” อย่างไรก็ตามในหลายๆ แหล่งข้อมูลก็มีการเรียกชื่อ บูคาร่า แตกต่างกันออกไป เช่ นยูมี (Nyumi), บูโฆ (Bukho), บูเห (Buhe), บูฆาลา (Bukhala), บูมิสกัต (Bumiskat), ฟูโห (Fuho) และ อันชือ (Anxi)

ตลอดประวัติศาสตร์ บูคาร่า เป็นเมืองสุดปรารถนาของผู้ปกครองหลายอาณาจักร ทำให้บูคาร่าถูกเปลี่ยนมือจากผู้พิชิตคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่ง โดยในยุคก่อนการเข้ามาของศาสนาอิสลาม บูคาร่าเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมของเอเชียกลาง

ในช่วงศตวรรษที่ 9-10 บูคาร่าได้กลายเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิซามานิด ทัวร์อุซเบกิสถาน บุคคลที่มีชื่อเสียงของอาณาจักร ได้แก่ อบูอาลี อิบนู ซีนา (Abu Ali Ibn Sina) นักปราชญ์ชาวเปอร์เชีย ที่มีบทบาทด้วยสาธารณสุข เมื่อเกิดโรคระบาดในอาณาจักร และเขียนหนังสือปทานุกรมคำศัพท์, อบู อับดุลเลาะห์ จาฟาร์ อิบนู มูฮัมหมัด รูดาคี (Abu Abdullah Jafar Ibn Muhammad Rudaki) นักขับลำนำ ผู้ก่อตั้งวรรณกรรมเปอร์เซีย บิดาแห่งบทกวีเปอร์เซีย, โอมาร์ ฆัยยัม (Omar Khayyam) กวี นักปราชญ์ นักดาราศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ และแพทย์ชาวเปอร์เซีย เป็นต้น

หลายศตวรรษต่อมา ภูมิปัญญาทางสถาปัตยกรรมในบูคาร่าได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าบูคาร่าจะได้ไม่เป็นเมืองหลวงอีกต่อไปแล้วก็ตาม ซึ่งยังคงหลงเหลืออย่างมากมายและได้รับอนุรักษ์อย่างดีในจนถึงปัจจุบัน โดยบูโฆโรย ชารีฟ หรือ บูคาร่าศักดิ์สิทธิ์ ได้กลายเป็นศูนย์กลางทางศาสนา ภายใต้การปกครองของอามีร์ ติมือร์ แต่ก็เกิดเรื่องน่าเศร้าขึ้น เมื่อสิ่งก่อสร้างทางประวัติศาสตร์หลายแห่งในบูคาร่าได้ถูกทำลายลง หลังการปฏิวัติในปี ค.ศ. 1917 ซึ่งเป็นผลทำให้บูคาร่าได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอุซเบกในที่สุด

ต่อมาในปี ค.ศ. 2020 บูคาร่าได้รับการประกาศให้เป็นเมืองหลวงของวัฒนธรรมอิสลาม จากองค์การโลกอิสลามเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม

บูคาร่า : นครแห่งป้อมปราการและหออะซานสุดตระการตา

ป้อมอาร์ค (Ark Fortress)

เป็นป้อมปราการโบราณหนึ่งในสัญลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมของเมืองบูคาร่า เป็นอนุสรณ์สถานที่เก่าแก่ที่สุดของเมือง ป้อมปราการแห่งนี้มีความหมายว่า “เข้มแข็งและยิ่งใหญ่” จากการขุดค้นทางโบราณคดีได้ยืนยันว่าดินแดนแห่งนี้ มีสิ่งก่อสร้างป้องกันเมืองมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล และในศตวรรษที่ 8 มีมัสยิดประจำเมืองแห่งแรก และภายในอาณาเขตของป้อมปราการที่เป็นพระราชวัง ก็มีสิ่งก่อสร้างอื่นๆ เช่น ศาลาต้อนรับ โรงแรม ห้องสมุด โรงกษาปณ์ โรงอาบน้ำ คุก และอื่นๆ อีกมากมาย โดยมี อิบนู ชีนา, โอมาร์ ฆัยยัม, รูดาคี ต่างก็ทำงานอยู่ภายในกำแพงป้อมอาร์ค ซึ่งปัจจุบันได้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์-เขตสงวน ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถชมวิถีชีวิตของเหล่าผู้ปกครองในยุคกลาง และการค้นพบทางโบราณคดีต่างๆ ตลอดจนชื่นชมสถาปัตยกรรมของเอเชียกลางด้วย

กลุ่มสถาปัตยกรรม ปุย-กัลยัน (Poi-Kalyan) หรือ โป-อี-กาลัน (Po-i-Kalan)

ทัวร์อุซเบกิสถาน

ทัวร์อุซเบกิสถาน : โป-อี-กาลัน

เป็นกลุ่มสถาปัตยกรรมที่ตั้งอยู่ในใจกลางเมืองบูคาร่า ซึ่งมีความหมายว่า “พระบาทแห่งมหาราช (Foot of the  Great)” หรือ “ตีนหออะซานกัลยัน (Foot of the Kalyan Minaret)” โดยคำว่า กัลยัน (Kalyan) แปลว่า “ยิ่งใหญ่” กลุ่มอาคารปุย-กัลยัน ทัวร์อุซเบกิสถาน ประกอบไปด้วย หออะซานขนาดใหญ่ ตรงกลางเป็นมัสยิดกัลยันและโรงเรียนสอนศาสนามิริ-อาหรับ ที่หันหน้าเข้าหากัน และโรงเรียนสอนศาสนาอามีร์ อะลิม-ข่าน

หออะซานกัลยัน หรือ กัลยัน มินาเร่ต์ (Kalyan Minaret)

สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1127 ทัวร์อุซเบกิสถาน ด้วยโครงสร้างอิฐก่อ สูง 46.5 เมตร เรียวจากฐานกว้าง 30.43 เมตร ผนังหออะซานตกแต่งด้วยลวดลายเรขาคณิตและจารึกทางศาสนาอิสลาม หออะซานถูกสร้างขึ้นเพื่อให้นักบวชมุสลิมใช้เรียกผู้ศรัทธา มาละหมาดที่มัสยิดกัลยันซึ่งเป็นมัสยิดแห่งแรกของเมืองในทุกๆ วันศุกร์ จากยอดหอที่สูงตระหง่านและโดดเด่น

มัสยิดกัลยัน (Kalyan Masjid)

สามารถรองรับผู้ละหมาดได้ 12,000 คนพร้อมกัน อาคารปัจจุบันสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1514 แทนที่มัสยิดเดิมที่ถูกทำลายลงโดยกองทัพของเจงกิสข่าน ซึ่งมัสยิดหลังใหม่ได้รับการตกแต่งอย่างประณีตทั้งภายนอกและภายใน

มีรี-อาหรับ มาดราสซ่ะห์ (Miri-Arab Madrasah)

 เป็นโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามที่ตั้งขึ้นตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1536 ซึ่งถือได้ว่าเป็นหนึ่งในโรงเรียนสอนศาสนาที่ดีที่สุดในเอเชียกลาง โดยมีบุคคลมีชื่อมากมายในศาสนาอิสลามมาสอน  ที่นี่ เช่น มุฟตีแห่งอูฟาคนแรก, มูฮัมเหม็ดจัน ฮุสเซน, และมุฟตีแห่งมุสลิมรัสเซียนคนแรก ซึ่ง กาลิมดาซาน และ บารูดี ต่างก็สำเร็จการศึกษาจากสถาบันอันทรงเกียรติแห่งนี้

หลังการปฏิวัติในปี ค.ศ. 1917 มาดราสซ่ะห์ได้ถูกปิดและนักบวชถูกปราบปราม ต่อมาเหล่าผู้ศรัทธาได้รณรงค์ให้กลับมาริเริ่มกิจกรรมการศึกษาทางศาสนาขึ้นอีกครั้ง หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และระหว่างปี ค.ศ. 1946-1956 และ 1961-1989 มาดราสซ่ะห์มิริ-อาหรับได้เป็นโรงเรียนสอนศาสนาแห่งเดียวที่สามารถรองรับนักศึกษาได้ทั่วทั้งสหภาพโซเวียต

โรงเรียนสอนศาสนาอามีร์ อะลิม-ข่าน (Amir Alim-khan Madrasah) เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มอาคารโปย-กัลยัน สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1915 โดยเงินพระราชูปถัมภ์จากเซอิด อะลิม-ข่าน ประมุของค์สุดท้ายของบูคาร่า หลังจากสถาบันการศึกษาทางศาสนาทั้งหมดในสหภาพโซเวียตถูกปิด ในปี ค.ศ. 1924 มาดราสซ่ะห์แห่งนี้ก็ได้กลายเป็นที่ตั้งของห้องสมุดในที่สุด

สถานที่สำคัญและสถานที่ท่องเที่ยวในบูคาร่า

เรจิสถาน สแควร์ (Registan Square)

เรจิสถาน สแควร์ ไม่ได้มีแค่ที่ซามาร์คันด์เท่านั้น แต่ยังมีที่บูคาร่าด้วยเช่นกัน จัตุรัสแห่งนี้มีชื่อที่แปลว่า “สถานที่ทราย” ตั้งอยู่ใกล้กับป้อมปราการอาร์คทางฝั่งตะวันตก ในยุคกลางนอกจากจะเป็นส่วนสาธารณะและแหล่งการค้าที่ชื่อว่า โทฆี ซารการอน (Toqi Zargaron) ซึ่งเป็นอาคารหลังคาโดมใกล้กับมีรี-อาหรับ มาดราสซ่ะห์ ภายในมีแถวของแผงขายของเรียงราย ไม่ว่าจะเป็นการค้าวัว เนื้อสัตว์ พืชผล แตงโมและเมล่อน เครื่องใช้ไม้ ผ้าฝ้าย ผ้าโพกศรีษะ สิ่งของอื่นๆ และอาวุธด้วยเช่นกัน ยังเป็นที่ตั้งอาคารบริหารต่างๆ โรงเรียนสอนศาสนา และมัสยิด รวมถึงพระราชวังจนถึงศตวรรษที่ 13

โบโล ฆาวุซ (Bolo Khauz)

ทัวร์อุซเบกิสถาน

ทัวร์อุซเบกิสถาน : โบโล-ฆาวุซ

เป็นอนุสรณ์สถานแห่งเดียวที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้บนจัตุรัสเรจิสถาน ซึ่งตั้งอยู่ตรงข้ามกับป้อมปราการอาร์ค บริเวณโบโล เฮาซ์ ประกอบด้วย โบโล-ฆาวุซ (Bolo-Khauz) มีความหมายว่า “สระเด็ก” เป็นสระเก็บน้ำทรงแปดเหลี่ยมตั้งอยู่ด้านหน้ามัสยิดโบโล ฆาวุซ ยาว 20 เมตร ขอบสระมีบันไดอิฐลงสู่ผิวน้ำ ทัวร์อุซเบกิสถาน ซึ่งในอดีตสระแห่งนี้เป็นแหล่งน้ำดื่มน้ำใช้ของเมืองและก็เป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคต่างๆ มากมายด้วยเช่นกัน ต่อมาได้มีการระบายน้ำออกไม่ให้น้ำในสระนิ่ง และหออะซานบูคาร่า ซึ่งไม่สูงมากนัก

มัสยิดโบโล-ฆาวุซ สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1712 ประกอบด้วยอาคารทรงสี่เหลี่ยมหลังคาทรงโดมตรงกลาง ด้านหน้าหันไปทางทิศตะวันออก โดยมีพื้นที่ 27 x 20 เมตร ภายในอาคารมีห้องโถงลึก 10 เมตรในประกอบพิธีทางศาสนาในฤดูหนาว ด้านหน้ามัสยิดมีระเบียง ซึ่งเรียกว่า “อี-วาน (Iwan)” กว้าง 42 เมตร ประดับด้วยเสาไม้สูง 12.50 เมตร จำนวน 2 แถว หัวเสาแกะสลักลายรังนก รองรับเพดานห้องโถงที่ทาสีอย่างสวยงาม และตกแต่งอย่างวิจิตรงดงาม ใช้ประกอบพิธีทางศาสนาในฤดูร้อน

กลุ่มอาคารไลยบี-ฆาวุซ (Lyabi-Khauz Ensemble)

ไลยบี-ฆาวุซ หรือ ลาบี-ฮอวุซ (Labihovuz) ในภาษาอุซเบก แปลว่า “ที่สระเก็บน้ำ” ตั้งอยู่ห่างจากป้อมปราการอาร์คแห่งบูคาร่า มาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ราว 2 กม. เป็นกลุ่มสถาปัตยกรรมขนาดใหญ่ 3 หลัง ประกอบด้วย โรงเรียนสอนศาสนาคูเคลดราสฮ์ (Kukeldash Madrasah) ทางด้านเหนือ, คานะเฆาะห์ นอดีร์ เดวอนเบกี เตกเก (Khanqah Nodir Devonbegi Tekke), ลาบีฮอวุซ (Labihovuz) สระน้ำทรงแปดเหลี่ยมอยู่ตรงกลาง, โรงเรียนสอนศาสนานอดีร์ ดีวาน-เบกี (Nodir Divan-Beghi Madrasah) ทางตะวันออก

ลาบีฮอวุซ (Labihovuz)

ไลยบี-ฆาวุซ เป็นสระน้ำขนาด 46 x 36 เมตร ที่มีบันไดหินปูนสีเหลืองขนาดใหญ่ลงไปยังผิวน้ำ ตั้งอยู่ตรงกลางสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ทั้งสามอาคาร ที่เต็มไปด้วยต้นไม้เขียวขจีอายุนับศตวรรษภายในสวนสาธารณะ ใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวเมืองและนักท่องเที่ยว มีรูปหล่อโลหะของ โฆจา นาสเร็ดดีนที่กำลังขี่ลา ซึ่งเป็นตัวละครพื้นบ้านของโลกมุสลิม (คล้ายกับอีสปของกรีก) ที่รู้จักตั้งแต่คาบสมุทรบอลข่านไปจนถึงจีน เป็นวีรบุรุษแห่งเรื่องสั้นตลกขบขันและเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเสียดสี ซึ่งเป็นในจุดถ่ายรูปเมื่อมากเยือนไลยบี-ฆาวุซ

โรงเรียนสอนศาสนาคูเคลดราสฮ์ (Kukeldash Madrasah)

เป็นอาคารที่เก่าแก่ที่สุดของกลุ่มอาคารไลยบี-เฆาซ์ สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 16 ในรัชสมัยของราชวงศ์เชย์บานิดแห่งบูคาร่า ภายในมีฮุจเราะห์ (ห้องเล็กๆ) แบ่งได้ 130 คูหา ซึ่งใช้เป็นที่พัก ที่ละหมาด และที่ศึกษาทางศาสนาของนักเรียนมากกว่า 320 คน และมีร้านค้า 2 แห่งในบริเวณรอบนอกลานอิวาน ซึ่งเป็นงานช่างฝีมือและร้านขายของที่ระลึก ด้านหน้าอาคารแบบดั้งเดิมของโรงเรียนสอนศาสนาประดับด้วยมาจอลิก้า (เครื่อง  เคลือบดินเผาอิตาลี) ตกแต่งทางเข้าหลักขนาดใหญ่ ซุ้มประตูโค้งลึก ขนาบข้างด้วยเสานิลสีเขียวโปร่งแสงสง่างาม ภายในอาคารตกแต่งอย่างสมบูรณ์แบบด้วยสีขาว

ตลอดประวัติศาสตร์ของบูคาร่า มาดราสซ่ะห์แห่งนี้มีบทบาทต่างๆ มากมาย ทำหน้าที่เป็นที่พักกองคาราวานและป้อมปราการ แม้กระทั่งเป็นลานประหารชีวิต ปัจจุบันได้รับการตกแต่งใหม่ กลายเป็นมาดราสซ่ะห์ที่ใหญ่ที่สุดในบูคาร่าและสถาบันการศึกษาทางจิตวิญญาณที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียกลาง ขณะที่บางส่วนของโรงเรียนสอนศาสนาได้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ที่อุทิศให้นักเขียนอย่างซาดริดดิน ไอนี่ (Sadriddin Ayni) และ ชาโลล อัคโรมีย์ (Jalol Ikromiy)

คานะเฆาะห์ นอดีร์ เดวอนเบกี เตกเก (Khanqah Nodir Devonbegi Tekke)

คานะเฆาะห์ นอดีร์ เดวอนเบกี เตกเก เป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์ของอุซเบกิสถานในเมืองบูคาร่า ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1620-1621 โดย นอดีร์ เดวันเบกี (Nodir Devonbegi) หรือ นอดีร์ มีร์โซ โตเกย์ อิบนู สุลต่าน (Nodir Mirzo Togay ibn Sultan) ราชมนตรีและน้องชายของ อิหม่ามฆูลี ข่าน (Imamquli Khan) ผู้ปกครองแห่งบูคาร่า อาคารคานะเฆาะห์ (ที่พักผ่อนสำหรับศาสนิกนิกายซูฟีที่เดินทางตามคำสั่งทางศาสนา ซึ่งผู้นำทางศาสนานิกายซูฟีมักจะใช้สถานที่แห่งนี้จัดการประชุม ชุมนุม) แห่งนี้ ถูกบรรจุอยู่ในรายการปูชนียสถานทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ระดับชาติของอุซเบกิสถาน ซึ่งสร้างขึ้นพร้อมกับสระเก็บน้ำลาบีที่ตั้งอยู่ด้านหน้าอาคาร

ทางเข้าหลักของอาคารคานะเฆาะห์ ที่ให้ความสำคัญกับความสูงของโดมใหญ่กลางอาคาร มีหอคู่ขนาบข้างคล้ายสุเหร่า ประดับตกแต่งด้วยโมเสกอักษรอารบิกสีขาวบนพื้นสีน้ำเงินอย่างงดงาม ทำให้ภายนอกอาคารดูยิ่งใหญ่ กำแพงอาคารได้รับการซ่อมแซมหลายครั้ง โดยครั้งสุดท้ายดำเนินการโดย ซาย์ยิด อะลิม-ข่าน ผู้ปกครององค์สุดท้ายของบูคาร่า ระหว่างปี ค.ศ. 1914-1916 และในปี ค.ศ. 1978 อาคารคานะเฆาะห์ได้รับการปรับเปลี่ยนให้มีความสง่างาม ซับซ้อน และชวนให้นึกถึงสถาปัตยกรรมโบราณมากขึ้น ซึ่งเป็นรูปลักษณ์ของอาคารในปัจจุบัน

นอดีร์ ดิวาน-เบกี มาดราสซ่ะห์ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของ ไลยบี-ฆาวุซ ที่โดดดังในเมืองบูคาร่า เป็นโรงเรียนสอนศาสนาที่ได้รับการตั้งชื่อว่า นอดีร์ ดิวาน-เบกี ตามราชมนตรีและน้องชายของ อิหม่ามฆูลี ข่าน (Imamquli Khan) ซึ่งนอดีร์ ดิวาน-เบกี เป็นข้าราชการที่จงรักภักดีต่อประเพณีอิสลามและแข็งแกร่งที่สุดคนหนึ่งของราชวงศ์อัชตาร์ฆานิด (ชานิด Janid) ในรัชสมัยอิหม่ามฆูลี ข่านแห่งบูคาร่า

เดิมทีโรงเรียนสอนศาสนาแห่งนี้สร้างขึ้นมา เพื่อใช้เป็น คาราวานซราย (Caravanserai) ซึ่งเป็นที่พักของสำหรับกองคาราวานสินค้าบนเส้นทางสายไหมในเมืองบูคาร่า

มัสยิดมาโกคิ-อัตโตรี (Magoki-Attori Masjid)

เป็นหนึ่งในมัสยิดตัวอย่างสถาปัตยกรรมอิสลามเอเชียกลางในยุคจักรวรรดิคารา-ฆานิด ที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองบูคาร่า บริเวณเดียวกับกลุ่มอาคารไลยบี-ฆาวุซฝั่งตะวันตก สร้างบนพื้นที่ของ วิหารโมห์ (Moh Temple) หรือ วิหารแห่งดวงจันทร์ (a temple of the moon) ซึ่งเป็นวิหารของลัทธิบูชาไฟ (โซโรอัสเตอร์) ก่อนการเข้ามาของศาสนาอิสลาม และถูกแทนที่ด้วยมัสยิด ทำให้ถูกเรียกว่า “มัสยิดโมห์ (Masjid Moh)” และเป็นสุเหร่ายิว (synagogue) แห่งแรก โดยชาวยิวไปสักการะพระเป็นเจ้าในศาสนสถานเดียวกับชาวมุสลิม บริเวณใกล้เคียงมี ตลาดพระจันท์ (ได้ชื่อมาจากมัสยิดโมห์) โดยการเฉลิมฉลอง “เทศกาลโนว์รูซ (Nowruz)” ระหว่างวันที่ 19-21 มีนาคม ซึ่งเป็นวันขึ้นปีใหม่ของชาวเปอร์เซีย จะมีการจัดแสดงรูปเคารพของเทพเจ้าองค์ต่างๆ ของศาสนาโซโรอัสเตอร์ในตลาดสดแห่งนี้ ซึ่งแสดงถึงการเก็บเกี่ยวที่อุดมสมบูรณ์

มัสยิดมาโกคิ-อัตโตริถูกสร้างขึ้นใหม่ในศตวรรษที่ 12 โดยมีการยกระดับพื้นของมัสยิดเพิ่มขึ้น ด้านหน้าอาคารหลักได้รับการออกแบบใหม่ ต่อมาในศตวรรษที่ 16 ด้วยโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมที่พอกหนาขึ้นมาก ทำให้มัสยิดต้องจมลึกลงและฝังอยู่ในดิน ในช่วงทศวรรษที่ 1930 ได้มีการขุดค้นทางโบราณคดี พบว่าด้านหน้ามัสยิดไม่สามาตร หลังคาอาคารรูปทรงเรขาคณิตมุงด้วยอิฐ ตกแต่งทางสถาปัตยกรรมด้วยกระเบื้องดินเผาที่แกะลวดลายพืชพรรณต่างๆ ซึ่งดินเผาแกะสลักยังใช้ประดับเสาและส่วนโค้งของห้องใต้ดิน ด้วยลวดลายพืชพรรณพร้อมจารึกที่เคลือบด้วยสีน้ำเงิน

อนุสรณ์สุสานซามานิดส์ (Samanids Mausoleum)

ทัวร์อุซเบกิสถาน

ทัวร์อุซเบกิสถาน : สุสานซามานิดส์

ในบรรดาอาคารยุคกลางทั้งหมดในบูคาร่า อนุสรณ์สุสานซามานิดส์ เป็นที่น่าสนใจเป็นพิเศษ เป็นผลงานทางสถาปัตยกรรมชิ้นเอกที่มีชื่อเสียงระดับโลกที่สร้างขึ้นเมื่อปลายศตวรรษที่ 9 สุสานแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นทันทีหลังการสวรรคตของ อาห์เหม็ด อิบนู อะซาด (Ahmed ibn Asad) อามีร์แห่งเฟอร์กาน่าและซามาร์คันด์ และเป็นพระราชบิดาของอามีร์ อิสมาอิล ซามานี่ ผู้ปกครองจักรวรรดิซามานิด ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นสุสานหลวงของราชวงศ์ซามานิดส์ ซึ่งอามีร์ อิสมาอิล ซามานี่และ เอมีร์ นัสเซอร์ ที่ 2 (Emir Nasr II) พระนัดดาของพระองค์ ถูกฝังอยู่อนุสรณ์สุสานแห่งนี้

จุดสำคัญของอนุสรณ์สุสานแห่งนี้ เกิดจากการพบห้องใต้ดินภายในอนุสรณ์สุสาน ซึ่งตามกฎหมายอิสลามในเวลานั้น ไม่อนุญาตให้สร้างอนุสรณ์สุสาน หลังมีการชันสูตรพลิกศพบนหลุมของผู้ศรัทธาชาวมุสลิมโดยเด็ดขาด แต่ข้อห้ามดังกล่าวถูกทำลายลงในศตวรรษที่ 9 จากการฝ่าฝืนของกาหลิบคนหนึ่ง ซึ่งได้สร้างสุสานพิเศษ อัส-ซูลี-บิย่า (As-Suli-biya) ขึ้น และอามีร์ อิสมาอิลเพียงแค่ทำตามอย่างเขาเท่านั้น

อนุสรณ์สุสานซามานิดส์ ได้เปิดเผยภูมิปัญญาเปอร์เซียและเอเชียกลาง อันชาญฉลาดและเรียบง่ายในการออกแบบ ซึ่งเห็นได้จากองค์ประกอบและการออกแบบด้านหน้าและภายในที่สมดุล ประกอบด้วยหลังคาโดมทรงโอคว่ำวางบนลูกบาศก์คล้าย มัสยิดกะอ์บะฮ์ที่ยิ่งใหญ่ของนครมักกะฮ์ ด้านหน้าก่อแต่งด้วยอิฐเผาอย่างประณีตมีเอกลักษ์เฉพาะตัวเหมือนกันทั้งหมด มีการผสมผสานลวดลายตกแต่งหลากหลายวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็น ซ็อกเดียน, ซัสซาเนียน, เปอร์เซียน, อารบิค และโบราณ ทัวร์อุซเบกิสถาน ซึ่งแตกต่างจากสุสานในศตวรรษที่ 9-10 ที่ประชากรส่วนใหญ่ในภูมิภาคยังคงเป็นชาวโซโรอัสเตอร์อยู่ ซึ่งถือได้ว่าเป็นสถาปัตยกรรมอิสลามช่วงแรกของการเปลี่ยนศาสนาในเอเชียกลาง ในขณะคานมุมที่มีลักษณะคล้ายป้อมปราการหนัก ก็ได้อิทธิพลมาจากประเพณีซ็อกเดียนของเอเชียกลาง

ชัชม่า-อยับ (Chashma-Ayub)

เป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อกันว่า เกิดจากนักบุญย็อบ หรือ ยากอบ (น้องชายของพระเยซู ตามความเชื่อในศาสนาอิสลาม จะเรียกว่า ยะโกบ หรือ ยะกุบ) ได้เดินทางมายังดินแดนนี้ แล้วตัดสินใจช่วยเหลือผู้คนที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำในทะเลทราย โดยท่านได้ฟาดไม้ลงไปบนพื้น ทำให้เกิด น้ำผุด ใสดุจคริสตัลขึ้นมา ณ จุดที่ไม้เท้าได้ฟาดลงไป

ประชากรยังเชื่อต่อๆ กันมาว่า น้ำจากแหล่งน้ำผุดนี้ มีพลังในการรักษาโรคได้ จึงมีการสร้างสุสานเหนือแหล่งกำเนิดน้ำผุด ตัวอาคารมียอดโดมที่ทรงแตกต่างทั้ง โดมทรงโอคว่ำ และโดมทรงกลวยซึ่งสูงที่สุด และตั้งอยู่เหนืออาคารที่เป็นจุดกำเนิดน้ำผุดศักดิ์สิทธิ์

โรงเรียนสอนศาสนาอูลุกเบก (Ulugbek Madrasah)

เป็นอนุสรณ์สถานทางสถาปัตยกรรมและมาดราสซ่ะห์ที่เก่าแก่ที่สุด ทัวร์อุซเบกิสถาน ที่ได้รับการอนุรักษ์ในเอเชียกลาง และเป็นมาดราสซ่ะห์เก่าแก่ที่สุดที่สร้างขึ้นโดย เจ้าชายอูลุก เบ็ก ในรัชสมัยของอับดุลเลาะห์ ข่าน ที่ 2 ในปี ค.ศ. 1417 และมีการบูรณะซ่อมแซมครั้งใหญ่ในปี ค.ศ. 1586

ตามคำจารึกที่เขียนไว้บนแผ่นสำริดที่ทางเข้า ซึ่งมีชื่อของ “อิสมาอิล อิบนู ทาฆีร์ อิบนู มาฆมุด อิสป์เฟาะร์โกนี  (Ismail ibn Takhir ibn Makhmud Ispfargoni)” เกจิศาสนาจารย์ ประดับอยู่ที่หน้าบันของมาดราสซ่ะห์ สันนิษฐานว่าเขาเป็นหลานชายของกิเจศาสนาจารย์ท่านหนึ่ง ที่ถูกอามีร์ ติมือร์จับตัวในอิหร่านมายังซามาร์คันด์ และได้รับการจารึกชื่อไว้บนหน้าบันของ กูร์-อามีร์ คอมเพล็กซ์ ในซามาร์คันด์

เดิมโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามแห่งแรกของบูคาร่านี้ มีขนาดค่อนข้างเล็ก แต่มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่ยอดเยี่ยมงดงาม เป็นอาคารทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส 2 ชั้น มีหลังคาโดมทั้ง 4 มุมและ 1 โดมตรงกลางของอาคาร ภายในมีลานไอวานตรงกลาง ล้อมรอบด้วยฮุจเราะห์ (ห้องเล็กๆ) ทั้งสี่ด้าน ถือเป็นอนุสรณ์สถานแห่งความรุ่งเรืองของสถาปัตยกรรมเอเชียกลาง และถูกนำไปเป็นต้นแบบก่อสร้างมาดราสซ่ะห์ในเมืองอื่นๆ ของเอเชียกลางด้วย ปัจจุบันเป็นเพียงอาคารเดียวและหลังที่ 3 ในเมืองบูคาร่า ทัวร์อุซเบกิสถาน ที่สร้างโดยเจ้าชายอูลุก เบ็ก แห่งราชวงศ์ติมูริด ซึ่งได้รับการอนุรักษ์ไว้ และเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์แห่งการฟื้นฟูอนุสรณ์สถานแห่งบูคาร่า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในรายการมรดกโลก ปี ค.ศ. 1993  ชุด “ศูนย์กลางประวัติศาสตร์แห่งบูคาร่า” ขององค์การยูเนสโก้

โรงเรียนสอนศาสนาอับดุลลาซิซ ข่าน (Abdullaziz Khan Madrasah)

ตั้งอยู่ตรงข้ามกับอูลุก เบ็ก มาดราสซ่ะห์ สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1652 เป็นมาดราสซ่ะห์ขนาดใหญ่แห่งสุดท้ายในบูคาร่า ถือเป็นส่วนหนึ่งกลุ่มสถาปัตยกรรมอันงดงามที่สุดของบูคาร่า อับดุลลาซิซ ข่าน มาดราสซ่ะห์ทัวร์อุซเบกิสถาน ถือเป็นความก้าวหน้าอันน่าทึ่งของสถาปัตยกรรมเอเชียกลางในยุคกลาง แสดงให้เห็นถึงทักษะชั้นสูงของสถาปนิกประจำราชสำนัก ช่างก่อสร้าง และศิลปินต่างๆ ในเอเชียกลางมีมากเพียงใด

มาดราสซ่ะห์อับดุลลาซิซ ข่าน มักถูกเปรียบเทียบอูลุก เบ็ก มาดราสซ่ะห์ เนื่องจากเป็นโรงเรียนสอนศาสนาที่โดดเด่นตั้งอยู่คู่กัน แต่มีโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมแตกต่างอย่างสิ้นเชิง ด้วยช่วงเวลาการถือกำเนิดที่ต่างกัน มาดราสซ่ะห์อูลุก เบ็ก สร้างขึ้นในรัชสมัยของราชวงศ์ติมูริด ซึ่งมีขนาดและการตกแต่งปานกลาง ในขณะที่มาดราสซ่ะห์อับดุลลาซิซ ข่านกลับยิ่งใหญ่และหรูหรา

ซุ้มพิชตัฏ (Pishtaq) กรอบสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ของซุ้มทางเข้าหลัก ที่มีลวดลายสถาปัตยกรรมอิสลาม) ของอับดุลลาซิซ ข่าน มาดราสซ่ะห์ สูงใหญ่และได้รับการตกแต่งอย่างวิจิตรงดงาม ประตูอิวาน (Iwan ซุ้มทางเข้าหลัก) ประดับด้วยลวดลายหินย้อยที่สวยงาม แม้ว่าอูลุก เบ็ก มาดราสซ่ะห์ จะดูเรียบง่ายและประดับด้วยข้อความอ้างอิงจากคัมภีร์อัลกุรอาน แต่อับดุลลาซิซ ข่าน มาดราสซ่ะห์ ก็เต็มไปด้วยบทกลอนของกวีชื่อดังเช่นกัน

รูปแบบการตกแต่งในช่วงหลังแตกต่างกันมาก  โดยให้ความสำคัญองค์ประกอบการตกแต่งมากกว่ารูปแบบและสัดส่วนทางสถาปัตยกรรม ซึ่งไม่ได้ประดับด้วยแพทเทิร์นเรขาคณิตและดวงดาวที่แม่นยำอย่างที่เห็นปกติทั่วไป แต่เป็นการออกแบบต้นไม้หยักที่สดใสและอุดมสมบูรณ์ มีแม้กระทั้งรูปมังกรจีนและราชาแห่งนกในตำนานที่เรียกว่า “ซิมอร์ฆ (Simorgh)” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความสัมพันธ์อันใกล้ชิดของบูคาร่ากับอาณาจักรต่างๆ บนเส้นทางสายไหมในขณะนั้น ผนังและห้องต่างๆ ของโรงเรียนสอนศาสนาแห่งนี้ แสดงให้เห็นเทคนิคการตกแต่งที่ใช้ในสมัยนั้น เช่น ภาพประดับกระเบื้องมาจอริก้านูนต่ำ การแกะสลักหินอ่อน กระเบื้องโมเสกและอิฐ การทาสีผนัง หรือแม้แต่การปิดเคลือบทอง

ภายในมาดราสซ่ะห์มีมัสยิดฤดูร้อนและฤดูหนาว ซึ่งได้รับการตกแต่งอย่างวิจิตรงดงามเช่นกัน มัสยิดฤดูหนาวอยู่ที่มุมตะวันตกของโถงทางเข้า มัสยิดฤดูร้อนตั้งอยู่ตรงลานจัตุรัส ห้องเรียนที่เรียกว่า “ดาร์สโฆน่ะ (Darskhona)” มีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่สวยงามเป็นสีน้ำเงินที่หายากบนพื้นหลังสีขาว แสดงถึงทิวทัศน์เหมือนกับภาพวาดของจีนหรืออินเดีย

อย่างไรก็ตาม พวกเขาไม่ได้ตกแต่งมาดราสซ่ะห์ให้สมบูรณ์ โดยด้านขวาของลานจัตุรัสและด้านซ้ายของอาคาร ยังไม่ได้ตกแต่งใดๆ เนื่องจากเกิดการรัฐประหารขึ้นในประเทศ ขณะที่อับดุลลาซิซ ข่านทรงไม่อยู่ และไม่มีสถาปนิกและช่างฝีมือคนใดสามารถทำงานให้เสร็จสมบูรณ์ได้

โดมการค้า (Trading domes)

บูคาร่าเป็นหนึ่งในชุมทางการค้าและจุดพักแวะสำคัญบนเส้นทางสายไหมโบราณ ซึ่งทำให้เกิดจุดซื้อขายสินค้าหลายแห่งในเมือง โดยเป็นอาคารทรงโดมเก่าแก่หลายแห่งที่ทอดยาวจาก ไลยบี-ฆาวุซ ไปจนถึง มิริ-อาหรับ มาดราสซ่ะห์ ที่สร้างขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 เมื่อบูคาร่าเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์ชายบานิด ซึ่งเจริญเติบโตอย่างไม่เคยมีมาก่อน มีตลาดและร้านค้ามากมายตามแยกต่างๆ บนถนนสาธารณะของเมือง เมื่อเวลาผ่านไปหลายศตวรรษ ปัจจุบันเหลือโดมการค้ายังคงอยู่จนถึงปัจจุบันเท่านั้น

โดมการค้า โทกี-ซาร์โรฟอน (Toki-Sarrofon Trading Dome)

ทัวร์อุซเบกิสถาน

ทัวร์อุซเบกิสถาน : ชาวบ้านในระแวกนี้ต่างนิยมออกมาพักผ่อนเดินเล่น และทำกิจกรรมร่วมกันในบริเวณโดมการค้า

เป็นโดมการค้าที่ตั้งอยู่ตรงข้ามเยื้องๆ กับ ซากคาราวานซรายและมัสยิดมาโกคิ-อัตโตริ และ ไลยบี-ฆาวุซ ทางตะวันออก ภายในอาคารโดมมีแผงค้ามากมายเรียงราย กระจายอยู่รอบๆ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเงินตราที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของเอเชียกลาง มีพ่อค้าจากอินเดีย จีน และประเทศต่างๆ มาแลกเปลี่ยนเงินจากร้านรับแลกเงิน ที่เรียกว่า “ซาร์ราฟ (Sarraf)” เป็นที่มาของชื่อตลาดที่เรียกขานในหลายศตวรรษต่อมา ปัจจุบันตลาดโทกี-ซาร์โรฟอน เป็นแหล่งค้าขายเฉพาะพรม ผ้าเช็ดหน้า และของที่ระลึกเท่านั้น

โดมการค้า โทกี-เทลปักฟูรูชอน (Toki-Telpakfurushon Trading Dome)

เป็นโดมการค้าที่ตั้งห่างจากออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเล็กน้อย บริเวณแยกบนถนนเมฆตาร์ อันบาร์ ตรง  ข้ามกับอาคารคาราวานซรายอูลุก เบ็ก ตลาดเทลปัก ฟูรูชอน เป็นอาคารขนาดใหญ่ที่มีการวางแนวเป็นรูปหกเหลี่ยม ภายใต้หลังคาโดมทรงกลมมีร้านขายมีด เครื่องประดับ เครื่องดนตรี และความทรงจำต่างๆ มากมาย ข้างๆ อาคารมีร้านช่างตีเหล็กยุคกลาง ที่นักท่องเที่ยวสามารถชมกระบวนการผลิตมีดและเครื่องมือต่างๆ ได้ เมื่อตลาดแห่งนี้มีการขายหนังสือ ทำให้โดมการค้าแห่งนี้ถูกเรียกว่า กิตัป-ฟูรูชอน (Kitab-Furushon) ซึ่ง คำว่า “กิตัป (Kitab)” ในภาษาอุซเบกแปลว่า “หนังสือ” โดยร้านหนังสือแต่ละร้านในอดีตถูกร้านขายเครื่องประดับ ขายหมวก และกลายเป็นตลาดขายของที่ระลึกที่ผลิตโดยช่างฝีมือท้องถิ่น

โดมการค้า ทิม อับดุลลา ข่าน (Tim Abdulla khan Trading Dome)

เป็นโดมการค้าที่แตกต่างจากที่อื่นๆ เพราะไม่ได้ตั้งอยู่บริเวณทางแยก แต่ตั้งอยู่ริมถนนฆากิกัต ซึ่งตรงมายังประตูฝั่งเหนือของโทกิ-เทลปักฟูรูชอน ซึ่งเป็นตลาดในร่มที่มีอากาศเย็นสบายอยู่เสมอ แสงที่ส่องผ่านหน้าต่างบานเล็กและช่องรับแสงในเข้ามาในตลาดทิม อับดุลลา ข่าน ตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมากพวกเขาขายพรมและผ้า โดยทุกวันนี้นักท่องเที่ยวสามารถซื้อพรมหลากสีหลายลาย ผ้าเข็ดหน้าสวยๆ หรือผ้าบูคาร่าสี่เหลี่ยมได้

โดมการค้า โทกิ-ซาร์การอน (Toki-Zargaron Trading Dome)

เป็นโดมการค้าที่ใหญ่ที่สุดในบูคาร่า เป็นโดมทางตอนเหนือสุดและตั้งอยู่ข้างกลุ่มอาคารปุย-กัลยัน และทางแยกจุดเชื่อมระหว่างถนน โฆดจา นูโรโบบอดกับถนนฆากิกัต “ซาร์การอน (Zargaron)” เป็นชื่อของโดมการค้าแห่งนี้ ซึ่งมาจากคำว่า “ซาร์การ์ (Zargar)” มีความหมายว่า ช่างทอง ครั้งหนึ่งเคยมีงานประกอบตัวเรือนของร้านจำหน่ายอัญมณีถึง 36 ร้าน ทัวร์อุซเบกิสถาน นอกจากนี้ โทกิ-ซาร์การอน ยังเป็นโดมการค้าแห่งแรกในบูคาร่า ปัจจุบันนักท่องเที่ยวสามารถซื้อเครื่องประดับ ผ้าเช็ดหน้า และอุปกรณ์ใช้ในครัวเรือนต่างๆ ได้ที่นั่น เช่น มือจับประตูสไตล์บูคาร่า ระฆัง เกือกม้านำโชค เป็นต้น

ทัวร์อุซเบกิสถาน
ทัวร์อุซเบกิสถาน

ทัวร์อุซเบกิสถาน

ทัวร์อุซเบกิสถาน

ทัวร์อุซเบกิสถาน
ทัวร์อุซเบกิสถาน

ทัวร์อุซเบกิสถาน : นอกจากจับจ่ายใช้สอยที่โดมการค้าแล้ว ยังมีบาร์ซาร์อื่นๆ ที่เป็นศูนย์รวมสินค้าราคาส่งอีกด้วย

ทัวร์อุซเบกิสถาน

Scroll to Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า